วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การคัดแยกขยะ

การคัดแยกขยะตามประเภท


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การคัดแยกขยะ

1.ขยะทั่วไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ถังขยะสาธารณะสำหรับขยะประเภทนี้จะเป็น “สีน้ำเงิน”
ขยะทั่วไปเป็นขยะจำพวกเศษกระดาษ ซองพลาสติก เปลือกลูกอม หรือของจำพวกที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ที่ไม่คุ้มค่ากับการนำไปรีไซเคิล ขยะเหล่านี้จะถูกนำไปกำจัดตามกระบวนการ เช่น การฝังกลบ การเผาด้วยเตาเผาขยะ เป็นต้น
2.ขยะเปียก
ถังขยะสาธารณะสำหรับขยะประเภทนี้จะเป็น “สีเขียว”
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ถังขยะเปียก
ขยะเปียกเป็นขยะย่อยสลายง่ายที่อยู่ในรูปแบบของเศษอาหารที่กินเหลือ วัตถุดิบที่เน่าเสียได้ง่าย ผลไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ ซากพืช ซากสัตว์ ที่เมื่อทิ้งไว้ไม่นานจะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน ขยะเหล่านี้อาจสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้ เช่น การนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น
3.ขยะรีไซเคิล
ถังขยะสาธารณะสำหรับขยะประเภทนี้จะเป็น “สีเหลือง”
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ถังขยะรีไซเคิล
ขยะรีไซเคิลมักเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วหรือวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลได้ เช่น แก้ว กระป๋อง ขวดน้ำ เศษพลาสติก ที่สามารถนำไปหลอมเพื่อแปรรูปสำหรับใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ขยะประเภทนี้จะมีมูลค่าสามารถเก็บไว้ขายให้กับคนที่รับซื้อของเก่า เนื่องจากสามารถนำไปสร้างประโยชน์ต่อได้





4.ขยะอันตราย
ถังขยะสาธารณะสำหรับขยะประเภทนี้จะเป็น “สีแดง”
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ถังขยะอันตราย
ขยะอันตรายที่อาจมีสารปนเปื้อนไปกับสภาพแวดล้อมได้ เช่น กระป๋องสเปรย์ แบตเตอรี่ ถ่ายไฟฉาย อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่เสื่อมสภาพ ควรถูกแยกออกจากขยะทั่วไป เนื่องจากขยะเหล่านี้จะมีสารประกอบทางเคมีอันตรายหลายอย่างที่ต้องถูกกำจัดอย่างถูกวิธี

R1 (Reduce)
 เป็นการลดปริมาณขยะที่อาจเกิดขึ้น เช่น การลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์โดยเลือกใช้สินค้าที่บรรจุ ในบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่แทนขนาดเล็กการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
R2 (Reuse) เป็นการน ามาใช้ใหม่หรือเป็นการใช้ซ้ า เช่น น าขวดกาแฟมาใส่น้ าตาล การใช้กระดาษพิมพ์ทั้งสอง หน้า ซึ่งเป็นการพยายามใช้สิ่งของต่างๆ หลายๆ ครั้งก่อนที่จะทิ้งหรือเลือกใช้ของใหม่
R3 (Repair) เป็นการน ามาแก้ไข น าวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ช ารุดเสียหายมาซ่อมใช้ใหม่ก่อนที่จะทิ้งเป็นขยะ
R4 (Recycle) การหมุนเวียนกลับมาใช้น าขยะมาแปรรูป ตามกระบวนการของแต่ละประเภท เพื่อน ากลับมาใช้ใหม
R5 (Reject) การหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ท าลายยาก หรือวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น โฟม ปฏิเสธการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ ย่อยสลายยาก

 









1. ขยะย่อยสลายได้ เช่น
 เศษอาหารและพืชผัก ที่เหลือจากการรับประทาน และการประกอบอาหาร สามารถนำไปหมักทำปุ๋ยได้ 
จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดมีประมาณ 46 % ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีเขียว เพื่อจะนำไปทำปุ๋ยหมัก                                                                                  
                                        

         








   2. ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่สามารถนำไปขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด 
    มีอยู่ประมาณ 42 % ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีเหลือง เพื่อจะถูกนำไปรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ 
                                     

            3. ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิล เช่น ซองบะหมี่สำเร็จรูป เปลือกลูกอม ถุงขนม ถุงพลาสติก 
    จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด ประมาณ 9 %  ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีน้ำเงิน เพื่อจะถูกนำไปฝังกลบรอการย่อยสลาย            
                                       
                                     

            4. ขยะพิษ หรือขยะมีพิษที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น กระป๋องยาฆ่าแมลง หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย 
    ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 3 % ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีแดง เพื่อจะนำไปกำจักอย่างถูกวิธี
                                    

สรุป

เราเห็นแล้วว่าปัญหาขยะล้นเมืองนั้นมีสาเหตุมาจากพวกเราทุกคนที่ยังขาดความเข้าใจในการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกับเรา
ในวันนี้ปัญหาขยะล้นเมืองไม่ได้มีแค่ตามชุมชนหรือเมืองใหญ่เท่านั้น ยังมีขยะทั้งในแม่น้ำและทะเลอีกเป็นจำนวนมาก และจะก่อให้เกิดผลเสียระยะยาวต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศได้ในอนาคต
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดปริมาณขยะลงด้วยตัวของเราเอง ด้วยการคัดแยกประเภทของขยะก่อนนำไปทิ้งทกครั้ง เพื่อให้ง่ายต่อการคัดแยกขยะก่อนนำไปกำจัดหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้

                        à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น